เรื่องพื้นฐานที่จำเป็นต้องรู้ในการถ่ายภาพ

16 ก.พ. 2016 , 4,009 Views   , หมวดหมู่ ทุกหมวดหมู่ วาดภาพด้วยแสง   ,


1545989_10202380494866653_370450593_n

หากอยากถ่ายรูปสวยๆ อย่างน้อยๆ ต้องรู้เรื่องพื้นฐานของการถ่ายภาพก่อนครับ

  1. สปีดชัตเตอร์

    สปีดชัตเตอร์หรือความเร็วชัตเตอร์มีผลทำให้ ภาพชัดหรือว่าเบลอได้
    ต้องการภาพคมชัด  ความเร็วชัตเตอร์อย่างน้อยควรจะตั้งแต่ 1/80 ขึ้นไป
    ต้องการภาพหยุดนิ่ง เช่น หยดน้ำหยุดนิ่ง ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ
    ต้องการภาพน้ำตกเป็นสาย หรือไฟรถตอนกลางคืนเป็นสาย ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ

    1604861_10202595823529735_891487440_n

    ความเร็วชัตเตอร์สัมพันธ์กับรูรับแสง

    – หากอยู่ในสถานที่แสงน้อย ต้องการภาพที่คมชัด ให้ดันความเร็วชัตเตอร์ขึ้นสูงพอที่ภาพจะไม่เบลอ รูรับแสงจะต้องปรับให้เปิดกว้างที่สุด (ค่า F น้อยที่สุด จะทำให้ภาพชัดตื้น) เพื่อให้ภาพสว่างขึ้น แต่ด้วยเลนส์หรือสภาพแสงที่ปรับค่า f น้อยสุดแล้ว ภาพก็ยังมืดอยู่ ก็ให้ค่อยๆปรับค่าความไวแสงขึ้น (iso) จนกว่าภาพจะสว่างขึ้นจนเราพอใจ แต่อย่าลืมว่าหากปรับค่า iso ขึ้นสูงเกินไปก็จะได้ noise แถมมาด้วยครับ

    จำง่ายๆครับ โหมดที่ควบคุมความเร็วชัตเตอร์ได้คือโหมด S,M

    โหมด M (Manual)
    หากต้องการภาพคมชัด ดันความเร็วชัตเตอร์ขึ้้นพอที่ภาพจะไม่เบลอ -> หากภาพมืด ปร้ับรูรับแสงให้กว้างหรือได้ความชัดตื้นที่พอใจ (ให้ปรับค่า F ให้น้อย) -> หากยังมืด ให้ดัน iso ขึ้น จนภาพสว่างตามต้องการ

    โหมด S (ค่า F รูรับแสงกล้องจะปรับให้อัตโนมัติตามสภาพแสง)
    หากต้องการภาพคมชัด ดันความเร็วชัตเตอร์ขึ้้นพอที่ภาพจะไม่เบลอ -> หากยังมืด ให้ดัน iso ขึ้น จนภาพสว่างตามต้องการ

    *ชัดตื้น คือ คือไม่ชัดทั้งภาพชัดเฉพาะที่โฟกัส หรือหน้าชัดหลังเบลอ หน้าเบลอหลังชัด

  2. รูรับแสง หรือค่า F

    1524700_10202256372363668_349401539_n
    รูรับแสง หรือว่า F จะส่งผลต่อการชัดตื้น ชัดลึก
    รูรับแสงกว้างหรือค่า F น้อย จะทำให้ภาพ ชัดตื้น คือ ไม่ชัดทั้งภาพชัดเฉพาะที่โฟกัส หรือหน้าชัดหลังเบลอ หน้าเบลอหลังชัด
    รูรับแสงแคบหรือค่า F มากๆ จะทำให้ภาพ ชัดลึก คือ ชัดทั้งภาพ

    โหมดที่ควบคุมความเร็วชัตเตอร์ได้คือโหมด F,M

    รูรับแสงสัมพันธ์กับความเร็วชัตเตอร์

    รูรับแสงกว้างหรือค่า F น้อย แสดงว่าแสงเข้ามาได้มาก ทำให้ความเร็วชัดเตอร์สูงขึ้น
    รูรับแสงแคบหรือค่า F มากๆ ทำให้แสงเข้ามาได้น้อย ทำให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ หากต้องการให้ความรเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น ต้องดันความเร็วแสงขึ้น (iso) แต่ก็จะได้ Noise ตามมา

  3. ความไวแสง หรือ iso และ Noise

    IMG_20140118_124747

    ค่าความไวแสง (iso) ควรให้มีค่าต่ำที่สุดใว้ก่อน ถ้าหากสภาพแสงน้อยค่อยปรับค่า iso ขึ้นเพื่อให้ภาพเราสว่างขึ้น
    ถ้าความไวแสงยิ่งมากเท่าไหร่ค่า Noise ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

  4. การวัดแสง และการชดเชยแสง

    IMG_20140206_222205

    โหมดในการวัดแสง
    เฉลี่ยทั้งภาพ กล้องจะทำการวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพมาคำนวณในการชดเชยแสง
    เฉลี่ยหนักลาง กล้องจะนำภาพตรงกลางๆภาพมาคำนวณในการชดเชยแสง
    เฉพาะจุด กล้องจะนำภาพตรงโฟกัสเฉพาะจุดมาคำนวณในการชดเชยแสง

    ส่วนใหญ่แล้วผมจะใช้เฉลี่ยทั้งภาพ

    จำง่ายๆคือ
    หากในภาพที่เราถ่ายมีสีโทนสว่างมากกว่า เช่น มีพื้นหลังเป็นสีขาว กล้องจะมองว่ามีภาพสว่างมากเกินไปเลยปรับให้ภาพของเรามืดลงกว่าปกติ ให้เราชดเชยแสงขึ้น

    หากในภาพที่เราถ่ายมีสีโทนมืดมากกว่า เช่น มีพื้นหลังเป็นสีดำ กล้องจะมองว่ามีภาพส่วนมืดมากเกินไป เลยปรับให้ภาพของเราสว่างขึ้นกว่าปกติ ให้เราชดเชยแสงลง

  5. องค์ประกอบ หรือ composition

    IMG_20140121_171925

    สิ่งที่ไม่ควรทำในการจัดองค์ประกอบภาพ
    – ไม่ควรถ่ายภาพบุคคลหัวขาด แขนขาด
    – ไม่ควรมีเส้นพาดตัดตรงคอบุคคล
    – ไม่ควรให้เส้นขอบฟ้าเอียง
    – ไม่ควรให้สิ่งที่เราถ่ายอยู่ตรงกลางภาพ

    ควรศึกษาเพิ่มเติมเรื่องกฎ 3 ส่วน ครับ https://www.google.co.th/#q=Rule%20of%20thirds&rct=j

  6. สีคู่ตรงข้าม

    12719217_10207777440626924_6730347837070574398_o
    J9203371-8

    เวลาถ่ายรูปหากภาพถ่ายของเรามีสีคู่ตรงข้ามอยู่ด้วยกันก็จะทำให้รูปถ่ายของเรานั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ตัวแบบและพื้นหลังเป็นสีตรงข้ามกัน เป็นต้น  เขาบอกว่า ควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ20% ลองใช้กันดูครับ